พุดชมพู
ดอกไม้ช่อเล็กๆ กลีบดอกเรียวๆ มีทั้งสีขาวสีชมพูนี้มีหลายนาม ทั้ง พุดชมพู อุณากรรณ ตึ่งตาใส แต่เราชอบชื่อเรียบง่าย เลยขอเรียกตามตำราพฤกษศาสตร์ ว่าพุดชมพู ฟังดูน่ารักน่าเอ็นดูกว่าชื่ออื่น
พุดชมพู เป็นไม้พุ่มโปร่ง ต้นไม่ใหญ่มาก ออกดอกสวยน่ารักให้ชื่นใจอยู่เสมอๆ ฉันเคยเห็นต้นไม้ที่ดูคล้ายพุดชมพูมากแต่ดอกเป็นสีขาวล้วน เปิดตำราดูจึงได้ทราบว่าชื่อ พุดดง
(ภาพพุดชมพู ถ่ายภาพโดย เจ้าของบล็อกเอง (Devonshire)
เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2559 ที่ไร่ผาจันหอม อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี)
พุดชมพู
Kopsia fruticosa (Kerr) A. DC.
ชื่อวงศ์ APOCYNACEAE
ชื่ออื่น ตึ่งตาใส อุณากรรณ
ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูงถึง 10 เมตร ใบ เดี่ยว ออกตรงข้ามเป็นคู่ รูปรี กว้าง 3.3-8 ซม. ยาว 7.5-18 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบรูปลิ่ม ดอก สีชมพูหรือสีขาว ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ยาว 7-12 ซม. มีขนสั้น ดอกบานเต็มที่กว้างประมาณ 5.5 ซม. กลีบรองดอกเชื่อมกันเป็นหลอดสั้น ปลายกลีบบนแยก 5 แฉก กลีบดอก เป็นหลอด ยาวประมาณ 4 ซม. ส่วนปลายแผ่เป็น 5 กลีบ รูปไข่กลับ ปลายมน เกสรผู้ 5 อัน ติดอยู่ใกล้ปากหลอดกลีบดอก รังไข่เกลี้ยง หรือมีขน ผล สีดำแดง ยาว 1.5-1.7 ซม. ปลายผลเป็นจงอยเด่น
การกระจายและนิเวศวิทยา พบในประเทศจีน พม่า มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ประเทศไทย ในสภาพธรรมชาติ พบในป่าดิบหรือป่าที่กำลังคืนสภาพบนภูเขาหินปูน ที่ระดับความสูงถึง 500 เมตร ออกดอกช่วงเดือนพฤษภาคม-กันยายน
Phut chomphu
Kopsia fruticosa (Kerr) A. DC.
Family APOCYNACEAE
Vernacular names Tueng ta sai, U-nakan
Shrub or small tree, up to 10 m high. Leaves simple, opposite, elliptic, 7.5-18 cm long by 3.3-8 cm wide. Inflorescence terminal corymbose raceme, 7-12 cm long, puberulent. Flowers pink or white, ca. 5.5 cm across; calyx 5, united at base; corolla 5, salverform, tube ca. 4 cm long, lobes obovate, rounded; stamens 5, included in the corolla tube; ovary glabrous or pubescent. Fruit drupe, reddish-black, 1.5-1.7 cm long, with a large beaked appendage.
China, Myanmar, Malaysia and Indonesia. In Thailand, found in evergreen and secondary forests, often on limestone, up to 500 m in elevation. Flowering from May to September.
